บัญชีเดียว ตัวช่วย SME โตง่าย ในโลกยุคใหม่

การทำธุรกิจยุคนี้ต้องเผชิญความตึงเครียดหลายด้าน ทั้งในด้านภาวะเศรษฐกิจ รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย จึงต้องมีความระมัดระวังในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากเดิมที่ SME มักทำหลายบัญชี ทำบัญชีไม่ครบถ้วน เพราะคิดว่าเป็นเรื่องยาก ไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ หากจะจ้างนักบัญชีมืออาชีพสักคนก็เป็นต้นทุนที่สูง หรือบางครั้งไม่อยากเข้าระบบและต้องการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวให้กับธุรกิจ แต่นับจากนี้ ผู้ประกอบการยุคใหม่ไม่สามารถมองข้ามเรื่องเหล่านี้ได้อีกต่อไป เพราะการทำบัญชีและภาษีอย่างเป็นระบบไม่เพียงแต่จะทำให้จัดการเรื่องเงินอย่างเป็นระเบียบเท่านั้น แต่เพิ่มโอกาสในการเติบโตของธุรกิจได้อีกด้วย

มาตรฐานบัญชีภาษียุคใหม่ ต้องใช้บัญชีเดียว

จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล นายกสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เล่าถึงแนวโน้มของมาตรฐานการบัญชีและภาษี ในงาน K SME Accounting & Tax Day หัวข้อ “ส่องเทรนด์บัญชีภาษี SME รู้ก่อน พร้อมกว่า” โดยมี 2 เรื่องหลักที่ผู้ประกอบการต้องรู้ คือ
1. การทำมาตรฐานบัญชีชุดเดียว หลังจากที่ภาครัฐได้กำหนดให้เจ้าของธุรกิจเข้าร่วมมาตรการบัญชีชุดเดียวกับกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายหลักว่า ผู้ประกอบการจะสามารถนำบัญชีชุดนี้ไปยื่นได้กับทุกหน่วยงานราชการ รวมไปถึงทุกธนาคาร ฉะนั้น ผู้ประกอบการจะต้องใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นในการทำบัญชี ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง และต้องเตรียมเอกสารประกอบการบัญชีให้ครบถ้วน
2. การตรวจสอบภาษีในอนาคตของกรมสรรพากรโดยใช้ Big Data สรรพากรมีการพัฒนาเรื่องระบบภาษีบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ และใช้ Big Data มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีและยกระดับการให้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในทุกกระบวนการ รวมไปถึงมีระบบการคัดเลือกผู้เสียภาษีเพื่อกำกับและตรวจสอบที่เรียกว่า Risk-Based Audit (RBA) ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่ยอมเข้าระบบก็ย่อมถูกตรวจสอบได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
เมื่อ SME นำธุรกิจเข้าสู่ระบบภาษีอย่างถูกต้องจะได้รับสิทธิประโยชน์หลายอย่าง ซึ่งกรมสรรพากรมองว่าบัญชีชุดเดียวจะสะท้อนความเป็นจริงของธุรกิจจะไม่มีการตรวจสอบย้อนหลัง และใช้งบการเงินชุดเดียวกันขอสินเชื่อธนาคารได้อย่างง่ายดายขึ้น

 

SME ที่รู้รอบ มักได้เปรียบเรื่องภาษี

การทำธุรกิจไม่ได้มีแค่เรื่องการทำบัญชีและภาษี แต่ยังมีกฎหมายเกี่ยวข้องที่ SME ยุคนี้จำเป็นต้องรู้ ไม่ว่าจะเป็นประมวลรัษฎากรที่ได้นิยาม SME ไว้ทั้งในแง่ทุนชำระไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือนิยามจากทรัพย์สินถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท และแรงงานไม่เกิน 200 คน หรือกิจการมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ซึ่ง ถนอม เกตุเอม เจ้าของบล็อกภาษีข้างถนน และแฟนเพจ @TAXBugnoms ได้อธิบายไว้ในงานเดียวกัน ในหัวข้อ “อัพเดตบัญชีภาษีที่ SME ยุคนี้ต้องรู้” ว่า SME ตามนิยามนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์อัตราภาษีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ว่าจะเป็น กำไรสุทธิ 300,000 บาท จะไม่เสียภาษีเลย ในขณะที่กำไร 300,000 บาท ถึง 3 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี 15 เปอร์เซ็นต์ และถ้าเกิดมีกำไรสุทธิ 3 ล้านบาทขึ้นไปจะเสียภาษี 20 เปอร์เซ็นต์ นี่คือสิ่งที่ SME ได้ ในเรื่องของภาษี ตามเงื่อนไขของทุนกับรายได้ ที่จะกลายเป็นกับดักที่ SME พยายามประคองไม่ให้รายได้เกิน 30 ล้านบาท หรือในอีกแง่หนึ่งพยายามกระจายธุรกิจจนในที่สุดบริหารไม่ไหว
ระบบการจัดเก็บภาษีในอนาคตจะเป็นระบบที่จะแยกคนดีกับคนไม่ดี คนไม่ดีคือคนที่หลีกเลี่ยงกฎหมาย ซึ่งเมื่อระบบปรับ การตรวจสอบก็เปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ โดยจะมีหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น ใช้ข้อมูลมาจัดการ และจัดการกับช่องโหว่ทางกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง National E-Payment ร่างกฎหมายภาษีใหม่ทั้งการกำหนดให้ส่งข้อมูลบัญชีธนาคาร ใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และเก็บภาษีออนไลน์ แนวทางการตรวจสอบของกรมสรรพากร และการกำหนดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เหล่านี้เป็นต้น ซึ่ง SME ที่รู้เท่าทันเรื่องเหล่านี้จะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้
สิ่งที่คนทำธุรกิจต้องปรับตัว คือ ตั้งคำถามว่านโยบายเหล่านี้ส่งผลดีและผลเสียต่อธุรกิจอย่างไร และกฎหมายบังคับให้ต้องทำหรือไม่ ถ้าบังคับแล้วไม่ทำจะเสียประโยชน์มากแค่ไหน ทุกค่าใช้จ่ายหรือการลงทุนสามารถนำไปคำนวณภาษีได้หรือไม่ รวมทั้งต้องเก็บหลักฐานการจ่าย พิสูจน์ให้ได้ว่ามีคนรับเงินอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญการรับเงิน รายละเอียดการโอนเงินและหักภาษี หรือใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น ซึ่งภาครัฐจะสนับสนุนการหักค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการจ้างงานผู้สูงอายุ บริจาค จัดงานสัมมนา เป็นต้น
“ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังว่า ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นเป็นรายจ่ายที่จำเป็นหรือไม่ เพราะอาจเสียเงินมากกว่าที่ได้รับการหักลดหย่อนภาษีได้ หลักการสำคัญ คือ บริหารจัดการธุรกิจให้ได้กำไรสูงสุด และควรมองว่าภาษีเป็นแค่ส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่าย” เขาสรุปในตอนท้าย

ข้อมูล ธนาคารกสิกรไทย

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X