คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ด้วย ระบบโครงข่ายทางรถไฟ ความเร็วสูง

กรมรางการขนส่งต้องการตอบสนองการเดินทางของประชาชนคนไทยด้วยการเชื่อมโครงข่ายการเดินทางในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งเป็น ระบบโครงข่ายทางรถไฟ จำนวน 47 จังหวัด จาก 77 จังหวัด

ปัจจุบันจังหวัดใดที่มีการวางระบบโครงข่ายทางรถไฟ ก็จะทำให้เกิดการพัฒนา มีการลงทุนมากขึ้น และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก รถไฟสายสีแดง ก็ถือเป็นโครงการแรกที่จะมาช่วยยกระดับระบบโครงข่ายทางรถไฟในประเทศไทย รถไฟสายสีแดง เกิดขึ้นมาเพื่อทดแทนโครงการโฮปเวลล์ (โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร)

กรมรางการขนส่งยังคงพยายามที่จะพัฒนามาตรฐานคุณภาพ การบริการ ตัวขบวนรถไฟ การจัดการอาณัติสัญญาณ รวมถึงจุดตัดต่างๆ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟทั่วประเทศ

ระบบรถไฟรางคู่

การมีระบบรถไฟรางคู่จะช่วยให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เราไม่ต้องใช้เงิน 5 ถึง 6 ล้านเพื่อซื้อคอนโดใกล้รถไฟฟ้า หลังจากนี้เราสามารถซื้อบ้าน 2 ถึง 3 ล้านที่อยุธยาแล้วเดินทางด้วยรถไฟมาทำงานที่กรุงเทพได้

ซึ่งเรามีแผนพัฒนาระบบรถไฟรางคู่สำหรับ 5-10 ปีนี้ บางโครงการก็เสร็จแล้ว บางโครงการกำลังก่อดำเนินงานสร้าง และบางโครงการกำลังวางแผนอยู่

แผนพัฒนารถไฟรางคู่ แบ่งเป็นแผนระยะเร่งด่วน 4 ปีจากนี้ ได้แก่ แผนระยะกลาง และแผนระยะยาว เพื่อเชื่อมหัวเมืองทุกทิศเข้าด้วยกัน และสำหรับแผนระยะกลางจะทำเพื่อเชื่อมเข้ากับมาเลเซีย

โครงการระบบโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงที่เริ่มขับเคลื่อนแล้วในประเทศไทย 

โครงการรถไฟ ไทยจีน

ครงการรถไฟความเร็วสูงที่เราทำสัญญากับจีนครั้งนี้ เป็นระบบที่จีนไม่เคยทำกับใครมาก่อน ซึ่งผ่านการเจรจากับจีนมาหลายครั้งจนหลายคนสงสัยว่าทำไมใช้เวลานาน แต่แท้ที่จริงแล้ว สัญญาครั้งนี้เราไม่อยากเป็นแค่แรงงานที่ไม่มีองค์ความรู้อะไรเลย เราเลยขอให้จีนทำสัญญาเพื่อควบคุมการออกแบบเทคโนโลยี และควบคุมคุณภาพการดำเนินงาน รวมถึงใช้ผู้รับเหมก่อสร้างของบ้ายเรารับองค์ความรู้นั้นมาออกแบบ และสร้างภายใต้การกำกับดูแลของประเทศจีน

รถไฟจีน แท้ที่จริงแล้วเป็นรถไฟที่มีโครงข่ายมากที่สุดในโลก ปัจจุบันยาวกว่า 30,000 กิโลเมตร มากกว่าสหภาพยุโรปรวมกันเสียอีก หรือมากกว่าชินคันเซนที่ไม่ทางรถไฟไม่ได้ยาวออกมานอกเกาะ

เพื่อให้เราสามารถเชื่อมคุนหมิงกรุงเทพ เราจำเป็นจะต้องเชื่อมจังหวัดโคราช และหนองคาย ภายใต้อาณัติสัญญาณ CTCS (Chinese Train Control System) ให้ได้ก่อน โดยอันนี้เราใช้ผู้รับเหมาในประเทศไทยในการออกแบบแล้ว จากองค์ความรู้ที่เราได้มา เพราะเรามีความสัมพันธ์ทางการค้า และท่องเที่ยวกับจีนมาก

ระบบโครงข่ายทางรถไฟ เชื่อมสามสนามบิน  

ฝังเมืองประเทศไทยมีการออกมาหลังจากการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิแล้ว ทำให้การที่จะขยายรันเวย์ที่สาม หรือต่อเติมเทอมินอลทางทิศใต้กลายเป็นความยากลำบากเราต้องการให้หน่วยงานภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในส่วนของโครงการ TOD หรือแม้กระทั่งองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อให้มีการลงทุน การพัฒนา ให้เราสามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเราพยายามผลักดันโครงข่ายทางรถไฟสาย EEC เพื่อให้ตอบรับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ

ถ้าหากประเทศไทยสามารถปรับปรุงทางรถไฟให้ดีขึ้น จะสามารถลดอุบัติเหตุได้อย่างยั่งยืน

รถไฟในปัจจุบันมีต้นทุนขนส่งประมาณ 71 สตาง/ตัน. ส่วนระบบขนส่งทางรถยนต์มีต้นทุนถึง 1.38 บาท/ตัน กม. จะเห็นได้ว่ามากกว่า 2 เท่าตัว ถ้าเราอยากประหยัดเรื่องการขนส่ง ก็ต้องผลักดันการขนส่งในทางรถไฟให้มากขึ้น ซึ่งทางกรมการขนส่งมีเป้าหมายเพิ่มความเร็วรถไฟให้ได้ถึง 60 กม./ชม.

Q/A ช่วงถามตอบ 

Q : เรทค่ารถไฟฟ้าความเร็วสูงแพงไหม? คำนวณจากอะไร?
A : ไม่แพง และเป็นธรรม การคำนวณเรทราคาจะอยู่ระหว่างเครื่องบินรถทัวร์แบบแพงสุด ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้โดยสารทั่วไป แต่ก็จะมีอีกเรทสำหรับผู้โดยสารที่พรีเมี่ยม ใช้เวลาแค่ 1 ชม ก็ถึงโคราชแล้ว และปลอดภัยกว่าทางถนนมาก

จบแล้วสำหรับบทความ ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่ในใจเกี่ยวกับ ระบบโครงข่ายทางรถไฟ ไม่มากก็น้อย นอกจากนี้ทางทีมงาน BUILK ก็ต้องขอขอบคุณ คุณสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ (รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง) ที่สละเวลามาแชร์ความรู้ดีๆ ให้กับผู้ร่วมงานรักเหมาfest ในปี 2019 นี้ด้วยครับ

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X