เจาะลึกผู้ชนะนวัตกรรมยกระดับวงการก่อสร้าง YOUNG CIA BY BUILK 2018

วันนี้ทาง BUILK จะขอพาทุกท่านมาพบกับรายละเอียดของผลงานนวัตกรรมที่ได้คว้ารางวัลชนะเลิศในโครงการ “Young CIA ก่อ ร่าง สร้าง นวัตกรรม” ที่ ดร.เด่นชัย  วรเดชจำเริญ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พร้อมด้วย นายธกร วสุโภคิน และ นางสาวธัญญารัตน์ วังคะฮาด นักศึกษาชั้นปีที่4 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผนึกกำลังนำทีม คว้าเงินรางวัล 100,000 บาท จากการสร้างผลงานนวัตกรรมที่เป็นแอปพลิเคชันบนมือถือโดยใช้ เทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) และ Cloud ภายใต้ชื่อว่า Semi-automated BIM using Cloud-based mobile application for investigating sanitary systems

ปัจจุบันเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่ถูกพัฒนาสำหรับ การออกแบบอาคารด้วย ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมกระบวนการต่างๆให้สอดคล้องและถูกต้องมากยิ่งขึ้นถูกนำมาปรับใช้งานกับกระบวนการต่างๆ ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

แต่งานอุตสาหกรรมการก่อสร้างส่วนมากก็ยังไม่สามารถใช้งาน BIM ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานสุขาภิบาล ซึ่งหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นมานั้นจะส่งผลต่อภาพรวมโครงการสูงมาก

ทุกวันนี้ผู้รับเหมา SME ส่วนใหญ่ที่ประมูลงานมาได้แล้ว  มักจะส่งงานต่อไปให้ผู้รับเหมาช่วงงานระบบ ด้วยความเชื่อใจเพราะงานระบบจะไม่เบิกงบเกินจาก Cost ที่ตั้งไว้ตอนแรก รวมทั้งบางครั้งผู้รับเหมาช่วงก็เดินแบบโดยไม่มีการวางแผน ทำให้นำไปสู่ปัญหาในภายหลัง ซึ่งจากปัญหาหลัก ๆ ที่พบมาคือ SME ที่รับงานไม่เกิน 500 ล้านบาท มักจะถอดแบบสุขาภิบาลผิด อย่างงานไฟฟ้ากับปรับอากาศส่วนใหญ่คือตึกเสร็จแล้ว ค่อยมาปรับก็ยังได้ แต่งานสุขาภิบาลเป็นงานที่ไม่เหมือนงานอื่น เป็นงาน Underground ต้องเริ่มตั้งแต่แรก และวางแผนให้ดีก่อน

ทางทีมมองเห็นช่องโหว่ของปัญหานี้จึงเกิดไอเดีย นำเทคโนโลยี BIM เข้ามาช่วยจัดกระบวนการเพื่อลด Cost ตรงนี้  ซึ่งไอเดียนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากการที่เห็นว่าประเทศอเมริกาเค้าเอาเทคโนโลยี BIM มาใช้จริงๆ ซึ่ง BIM สามารถถอดราคาได้ เทียบได้ว่าคิดราคาเกินไหม ระยะเวลาที่ต้องใช้เท่าไหร่ ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของการเสียเวลาลง ลด Cost ได้มากเพราะไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น อย่างการสั่งของก็สามารถสั่งได้พอดี ของไม่เหลือ เพราะของเหลือปีหนึ่งรวมหลายๆ ไซต์ก็เป็นมูลค่าที่เยอะมาก

“งานสุขาภิบาลไม่เหมือนงานอื่น เป็นงาน Underground ต้องเริ่มตั้งแต่แรก และวางแผนให้ดีก่อน”

กระบวนการทำงานของระบบนี้เป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง 3 สิ่งเข้าด้วยกันคือ

1.โปรแกรม BIM

2.โปรแกรม Microsoft Project ที่แสดง Progress งาน(S-Curve)

3.แอปพลิเคชันบนมือถือ สำหรับผู้ตรวจงานในไซต์ ผ่าน เทคโนโลยี Cloud

โดยเริ่มจากถอดแบบระบบสุขาภิบาลโดยใช้โปรแกรม BIM ทำให้เห็นข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น cost หรือรูปแบบการวางระบบท่ออย่างละเอียด จากนั้นข้อมูลบน BIM ซึ่งอยู่ บน Cloud จะถูกนำมาเขียน Progress งาน(S-Curve) บน โปรแกรม Microsoft Project และข้อมูลทุกอย่างบน Cloud ก็ จะเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันบนมือถือ ทำให้วิศวกรที่อยู่หน้าไซต์งานสามารถตรวจงานผ่านมือถือได้ ไม่จำเป็นต้องปริ้นท์แบบเป็นกระดาษเพื่อไปเดินตรวจ โดยข้อมูลที่ถูกตรวจก็จะถูกส่งกลับไปยัง Cloud ซึ่งทำให้เมื่อมีการแก้ไขหรือปรับแบบบน BIM เราก็จะสามารถอัพเดท Progress งาน(S-Curve) บน โปรแกรม Microsoft Project ได้เลย ซึ่งสามารถช่วยลดการสูญเสียเวลาจากการแก้ไขงาน เห็นถึงความคืบหน้าของงานได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นรวมทั้งส่งผลถึงความสะดวกในการเบิกเงินตามงวดงานอีกด้วย

 

ประโยชน์ของผลงานนวัตกรรม

  • ลดค่าแรงที่ไม่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
  • สามารถทราบถึงความคืบหน้าของงานได้อย่างรวดเร็ว
  • ลดการสูญเสียเวลาจากการแก้ไขงาน อย่างน้อย 10%
  • เป็นการสร้างฐานข้อมูล Big data ให้กับการก่อสร้างอาคาร
  • ได้ As-built plan ที่ผิดพลาดน้อยที่สุด
  • ใช้งานเทคโนโลยี BIM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานระบบไฟฟ้า และระบบปรับอากาศได้
  • สามารถพัฒนาต่อยอดจนเป็นระบบอัตโนมัติ

 

 

ติดตามข่าวสารและเป็นเพื่อนกับเราได้ที่

     

Leave a Reply

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X