DRONE FOR SMART ENGINEERING

DRONE FOR SMART ENGINEERING

ในงานรักเหมาfest ขอนแก่น วันที่ 18 ตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน (Drone) ในหัวข้อ DRONE FOR SMART ENGINEERING ให้กับผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ซึ่งจะมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างไร ลองมาดูกันนะครับ

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจ

อากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน (Drone) คืออะไร ?

อากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน (Drone) เป็นเครืองมือชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายเครื่องบินหรือหุ่นยนต์ขนาดเล็ก ด้วยความสามารถที่บินได้ ทำให้มีผู้นำโดรนไปใช้ในกิจกรรมอย่างหลากหลาย เช่น ในวงการภาพยนตร์ ท่องเที่ยว รวมถึงงานด้านวิศวกรรมที่ต้องการถ่ายภาพในมุมสูง หรือตำแหน่งที่คนไม่สามารถไปได้ ซึ่งในปัจจุบันอากาศยานไร้คนขับกลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญของวิศวกรโยธา และถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการทำสำรวจ ถ่ายภาพ เพื่อทำแผนที่

มารู้จักกับอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน (Drone) ในประเภทต่างๆ

โดรนไร้คนขับชนิดปีกตรึ่ง (Fixed Wing)
โดรนที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องบินทั่วไป ใช้ระยะเวลาในการบินประมาณ 30-60 นาที สามารถบินครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า DRONE แบบปีกหมุน และในขณะลงจอดต้องใช้พื้นที่โล่งกว้างพอสมควร

อากาศยานไร้คนขับชนิดปีกหมุน (Multirotor)

โดรนที่ขึ้นลงแนวดิ่งอาศัยการหมุนของใบพัดในการขึ้นลง และขับเคลื่อนไปในทิศทางต่างๆ ซึ่งมีใบพัดจำนวนตั้งแต่ 3, 4, 6 และ 8 ใบพัด โดยทั่วไปใช้ระยะเวลาการบินประมาณ 10-20 นาที

อากาศยานไร้คนขับชนิดปีกหมุนเดี่ยว (Single-Rotor Helicopter)

โดรนที่มีรูปร่าง และโครงสร้างคล้ายเฮลิคอปเตอร์ ไม่เหมือน DRONE ชนิดปีกหมุน มีใบพัดขนาดใหญ่เพียงใบเดียวที่ใช้ในการเคลื่อนที่ และมีใบพัดขนาดเล็กอยู่บนส่วนของหาง เพื่ควบคุมทิศทางการบิน

อากาศยานไร้คนขับชนิดปีกตรึงขึ้นลงแนวดิ่ง (Fixed-Wing Hybrid)

โดรนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ มีลำตัวของอุปกรณ์เป็นแบบ DRONE ชนิดปีกตรึง (Fixed Wing) แต่สามารถขึ้นลงแนวดิ่งได้

หากจะเริ่มใช้โดรน ต้องรู้อะไรบ้าง ?

1. สำคัญเลยหากพี่ๆ จะใช้โดรนต้องไม่ลืมที่จะซื้อประกัน เพราะมันสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในกรณีอุปกรณ์เสียหายจากการใข้งาน เนื่องจากโดรนเป็นอุปกรรณ์มีราคาสูง แถมยังต้องลุยกับงานภาคสนาม นอกจากนี้ ควรเช็คอุณภูมิ และสภาพสิ่งแวดล้อม ก่อนขึ้นบินทุกครั้ง

2. ถ้าเมื่อไรที่จะใช้โดรนในการทำงาน สิ่งที่ต้องดูอีกเรื่องคือชนิดของกล้อง กล้องที่ใช้สำหรับโดรนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทนั่นก็คือ

  • Global Shutter ถ่ายแล้วได้ภาพชัด 100% ไม่มีการบิดเบือนของภาพ คุณภาพเทียบเท่ากล้องมืออาชีพ
  • Rolling Shutter ถ่ายทีละแถบจนเต็มหน้าจอของภาพ หากวัตถุมีการขยับหรือเคลื่อนไหว ภาพจะมีการคลาดเคลื่อน ซึ่งทำให้เอามาใช้ในการทำแผนที่ค่อนข้างลำบาก แต่มีข้อดีคือราคาไม่แพง

3. หากเป็นโปรเจคที่ต้องใช้จริง และเป็นทางการ ต้องมีการโยงยึดด้วยจุดควบคุมภาพถ่าย ต้องทราบขณะที่เราถ่ายภาพ จากความคลาดเคลื่อนทางรัศมี ความคลาดเคลือนตามแนวสัมผัส สองอย่างนี้ทำให้เกิดการผิดเพี้ยนของเลนส์ เพราะฉะนัน ทุกๆ กล้องต้องทำการสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration)

4. สุดท้าย สิ่งสำคัญอย่างนึงในโปรแกรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องมีการจับภาพด้วยโฮโลแกรม หากเป็นแผนที่ภาพยิ่งต้องทำอย่างละเอียด และใช้เวลาในการทำนาน

โดรนสามารถใช้สำรวจทางน้ำได้ไหม ?

โดรนสามารถปฏิบัติการใต้น้ำได้ เรียกว่าโดรนน้ำแต่ประสิทธิภาพของการสำรวจใต้น้ำ ในเรื่องของตำแหน่งภาพ และพิกัดที่ได้จากโดรนน้ำนั้น ทำได้ไม่ดีเท่ากับการใช้เรือแน่นอน เพราะในปัจจุบันสามารถใช้เรือที่มีการติดตั้งเครื่องโซน่าเพื่อสำรวจทางน้ำได้ แถมยังมีประสิทธิภาพสูง ได้ข้อมูลที่แม่นยำมากกว่า

ภาพฝันของการใช้โดรนในวงการวิศกรรมโยธา คือการที่โดรนสามารถอยู่ในตำแหน่งต่างๆ และถ่ายภาพ แต่จะดีกว่าถ้าสามารถใช้คำนวนปริมาณงานของเราได้อย่างละเอียด

ผศ.ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์ ยังกล่าวว่าอีกว่า หากอากาศยานไร้คนขับ สามารถใช้ติดตามงานก่อสร้าง เช่น การวัดปริมาณ วัดความคุ้มค่าของงาน ออกมาเป็นตัวเลขแบบละเอียดได้ ซึ่งมันควรจะทำได้ เป็นโจทย์ที่ท้าทายมากสำหรับวงการวิศวกรรมโยธา

“DRONE เป็นเครื่องมือที่ดี แต่ก็ต้องใช้ให้ถูก และมีประสิทธิภาพด้วย

จบกันไปแล้วสำหรับ บทความเกี่ยวกับอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน (Drone) ในหัวข้อ DRONE FOR SMART ENGINEERING จากงานรักเหมาfest ขอนแก่น หวังว่าบทความนี้จะให้ประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับโดรนไม่มากก็น้อย สุดท้ายนี้ทาง Builk One Group ขอเรียนเชิญผู้รับเหมา ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือนักศึกษาที่สนใจ และต้องการพัฒนาวงการก่อสร้างของประเทศไทย มาร่วมกันอัพเดทข่าวสาร นวัตกรรม และเทรนด์การก่อสร้างของอนาคตไปด้วยกันกับงาน รักเหมาfest วันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2019 สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ มักกะสัน

หากไม่อยากพลาดงานสัมมนาดี ๆ แบบนี้ มาที่กรุงเทพฯ ก็ยังทันนะ

กดลงทะเบียนเพื่อฟังงานสัมมนาสุด Exclusive เหมา 2 วัน ในวันที่ 22-23 พฤศจิกายน

ราคาเพียง 599 บาท สามารถกดซื้อบัตรได้เลยที่

 

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X