อาคารเขียวที่ใช่ ต้องมีต้นไม้กี่ต้น

เคยสงสัยบ้างหรือปล่า ว่าโครงการก่อสร้างที่เข้าเกณฑ์ อาคารเขียว ต้องมีต้นไม้เยอะขนาดไหน?

 

อาคารเขียวไม่ได้หมายถึง ตึกที่มีต้นไม้จำนวนมากหรือทาสีอาคารด้วยสีเขียว แต่แปลตรงตัวมาจาก Green Building ซึ่งเป็นคำเรียก อาคารที่สร้างขึ้นโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม หลายสถาบันจากประเทศต่างๆจัดทำมาตรฐานอาคารอนุรักษ์พลังงานออกมา เช่น LEED มาตรฐานระดับนานาชาติ หรือ TREES จากสถาบันอาคารเขียวไทย
องค์ประกอบของอาคารอนุรักษ์พลังงานนี้ ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์ของนานาชาติหรือของไทย มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตั้งแต่ก่อสร้างไปจนถึงใช้งานอาคาร รวมถึงมีพื้นที่สีเขียวในบริเวณโครงการด้วย

 

อาคารเขียว ต้องมีต้นไม้เยอะขนาดไหน

หากยึดตามเกณฑ์ของ TREES เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทยสำหรับ การก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่(NC) และอาคารประเภทพื้นที่ส่วนกลางและกรอบอาคาร(CS) แล้ว มีส่วนที่เกี่ยวกับต้นไม้อยู่ด้วยกัน 6 ข้อ ดังนี้

มีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อยร้อยละ 40 ของพื้นที่เปิดโลงเชิงนิเวศ

ในเกณฑ์กำหนดว่า พื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศต้องมีอย่างไม่น้อยกว่า 25% ของพื้นที่ฐานอาคาร และมีพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่เปิดโล่ง หรืออาจจะคำนวนได้ว่า มีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 10% บนพื้น (หากเป็นสวนหลังคาหรือสวนแนวตั้งจะเข้าเกณฑ์ข้ออื่น) ซึ่งพื้นที่สีเขียวนี้ไม่ได้กำหนดว่าต้องเป็นพืชพรรณประเภทไหน

Penn’s New College House is one of Philly’s LEED-certified residential buildings. Courtesy of the Delaware Valley Green Building Council

มีต้นไม้ยืนต้น 1ต้นต่อพื้นที่เปิดโล่ง 100 ตร.ม.

หัวข้อนี้เริ่มกำหนดชนิดของต้นไม้ละเอียดย่อยลงมา ว่าต้องเป็นต้นไม้ที่เมื่อโตเต็มที่แล้วทรงพุ่มไม่น้อยกว่า 4.5 เมตร หรือ สูงเกิน 6 เมตร อาจจะเป็นการรักษาต้นไม้เดิม ปลูก หรือล้อมย้ายต้นไม้มาจากแหล่งจำหน่ายที่ถูกกฎหมาย

หมายเหตุ ไม้ขุดล้อมที่ผิดกฎหมาย เป็นต้นไม้ที่ขุดมาจากป่าสงวน หรือ พื้นที่ที่ไม่อนุญาติให้นำต้นไม้ออกจากพื้นที่

The Earth Charter Center for Education for Sustainable Development at the University for Peace is Costa Rica http://earthcharter.org

ใช้พืชพรรณพืนถิ่นที่เหมาะสม

นอกจากจะมีต้นไม้ตามจำนวนด้านบน พืขที่เลือกมาปลูกต้องเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ใช่สายพันธุ์รุกราน (Invasive Alien Species) หรือแม้แต่วัชพืช โดยที่พืชพื้นถื่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพโครงการ เมื่อเลือกใช้ได้ถูกต้อง จะทำให้มีต้นทุนการดูแลรักษาต่ำ

 

มีการจัดสวนบนหลังคาหรือสวนแนวตั้ง

การปลูกพิชพรรณบนหลังคาหรือผนังภายนอกอาคาร อาจเป็นซุ้มไม้เลือยไม้กระถางกึ่งถาวรและสวนแนวตั้ง โดยมีเกณฑ์คะแนนจากค่า GSA

GSA / พื้นที่หลังคา >0.5 ได้ 1 คะแนน
GSA / พื้นที่หลังคา >0.8 ได้ 2 คะแนน

คิดที่ GSA = GRA + GWA x 0.5
GSA = Green Surface Area, GRA= Green Roof Area (พื้นที่สวนหลังคา ), GWA= Green Wall Area (พื้นที่สวนแนวตั้ง)

สวนแนวตั้งของ CDL’s condominium Tree House ในประเทศสิงคโปร์ ภาพจาก PropertyGuru

มีพื้นที่ดาดแข็งที่รับรังสีตรงจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 50%ของพืนที่โครงการ

ส่วนของหัวข้อนี้ ทำให้ต้นไม้มีบทบาทในเรื่องการให้ร่มเงากับพื้นผิว ไม่ให้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์โดยตรง แต่โครงการอาจจะเลือกลดพื้นที่ดาดแข็งด้วยวิธีอื่นๆประกอบได้เช่นกัน เช่น การใช้หลังคาคลุมทางเดินหรือวัสดุปูพื้นที่สะท้อนรังสีได้สูง

Related image
www.trendir.com

มีต้นไม้ยืนต้นทางทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศตะวันออก

โดยที่บังแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวอาคาร

ที่มา: เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทยสำหรับ การก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่(NC) และอาคารประเภทพื้นที่ส่วนกลางและกรอบอาคาร(CS) จัดทำโดย สถาบันอาคารเขียวไทย

 

เกณฑ์ทั้ง 6 ข้อด้านบน นับเป็น 7 คะแนน จาก 85 คะแนน ถือเป็น 8% ของการประเมินคะแนน อาคารเขียว
บางคนอาจจะมองว่าง่าย เพียงแค่นำต้นไม้มาปลูก แต่เรื่องยากจะอยู่ในขั้นตอนการดูแลรักษาต้นไม้พืชพรรณเหล่านี้ให้อยู่อย่างยั่งยืน ไม่ตายลงจนต้องลงทุนบูรณะปรับปรุงใหม่ กรณีที่มักเป็นปัญหาเช่น ไม้ขุดล้อม ที่จะแสดงอาการป่วยเมื่อเข้าปีที่ 2 หรือ 3 โดยที่สาเหตุอาจจะเกิดตั้งแต่การเลือกพืชพรรณที่ไม่เหมาะสม หรือการปลูกที่ขัดกับธรรมชาติของต้นไม้ ดังนั้น หากโครงการต้องการทำคะแนนในด้านนี้ ควรจะคิดคำนึงไปถึงเรื่องการเลือก การปลูก และดูแลรักษาให้ดี มิเช่นนั้น อาจจะได้อาคารประหยัดพลังงาน แต่ไม่ประหยัดต้นทุนการดูแลพื้นที่สีเขียว

 

ศึกษาเพิ่มเติม เทคนิคการล้อมต้นไม้

 

ติดตามกันต่อครั้งหน้า กับการสร้างโครงการที่เป็น Green Construction ได้ที่

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X