แบบไหนเรียกว่า อาคารเขียว

ด้วยกระแสรักษาสิ่งแวดล้อมที่กำลังมาพร้อมๆกับปัญหามลพิษ ทำให้เราเห็นดีเวลลอปเปอร์ดังๆหลายแห่ง เริ่มขยับมาสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้อาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง มักจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการลักษณะนี้  ซึ่งผู้ใช้อาคารอาจจะดูว่าอาคารไหนเป็น อาคารเขียว ได้ด้วยการดูคะแนนการประเมินของสถาบันต่างๆ เช่น LEED ของสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา หรือ TREES ที่พัฒนาโดย สถาบันอาคารเขียวไทย

Image result for TREES เกณฑ์ประเมินอาคารเขียวแบบไทยๆ

TREES ให้คะแนนจากไหน

เกณฑ์ TREES ระบบประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย พัฒนาโดย สถาบันอาคารเขียวไทย มีหลักการคล้ายๆการประเมินที่นิยมระดับโลกอย่าง LEED แต่มีข้อดีกับชาวไทยเรามากกว่าในเรื่องภาษาและต้นทุนการขอการรับรองที่ต่ำกว่า ซึ่ง ผู้ประเมินจะเข้าประเมินโครงการและให้คะแนนตามหัวข้อต่างๆด้านล่าง โดยที่คะแนนรวมเป็น 85 คะแนน โครงการที่ได้รับการรับรองต้องได้คะแนนตั้งแต่ 30 คะแนน ดูตัวอย่างโครงการที่ได้มาตรฐาน TREES

เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทยสำหรับ การก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่(NC) และอาคารประเภทพื้นที่ส่วนกลางและกรอบอาคาร(CS)

อ้างอิงจาก TREES – NC / CS Version 1.1 จัดทำโดย สถาบันอาคารเขียวไทย

หัวข้อ รายละเอียด NC คะแนน
(บังคับ)
CS คะแนน
(บังคับ)
BM หมวดที่1 การบริหารจัดการอาคาร (Building Management) 3 (1) 4 (1)
การเตรียมความพร้อมความเป็นอาคารเขียว บังคับ บังคับ
การประชาสัมพันธ์สู่สังคม 1 1
คู่มือและการฝึกอบรมแนะนําการใช้งานและบํารุงรักษาอาคาร 1 1
การติดตามประเมินผลขณะออกแบบก่อสร้างและเมื่ออาคารแล้วเสร็จ 1 1
คู่มือแนวทางการออกแบบและก่อสร้างสําหรับผู้เช่า 1
SL หมวดที่2  ผังบริเวณและภูมิทัศน์ (Site and Landscape) 16 (2) 16 (2)
การหลีกเลี่ยงที่ตั้งที่ไม่เหมาะกับการสร้างอาคาร บังคับ บังคับ
การลดผลกระทบต่อพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ บังคับ บังคับ
การพัฒนาโครงการบนพื้นที่ที่พัฒนาแล้ว 1 1
การลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว 4 4
การพัฒนาผังพื้นที่โครงการที่ยั่งยืน

  • มีพื้นที่เปิดโลงเชิงนิเวศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ25ของพื้นที่ฐานอาคาร
  • มีต้นไม้ยืนต้น 1ต้นต่อพื้นที่เปิดโล่ง 100ตร.ม. (ห้ามย้ายไม้ยืนต้นมาจากที่อื่น)
  • ใช้พืชพรรณพืนถิ่นที่เหมาะสม
3 3
การซึมน้ำและลดปัญหาน้ำท่วม 4 4
การลดปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมืองจากการพัฒนาโครงการ

  • มีการจัดสวนบนหลังคาหรือสวนแนวตั้ง
  • มีพืนที่ดาดแข็งที่รับรังสีตรงจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน50%ของพืนที่โครงการ
  • มีต้นไม้ยืนต้นทางทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศตะวันออก ที่บังแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวอาคาร
4 4
WC หมวดที่3 การประหยัดน้ำ (Water Conservation) 6 6
EA หมวดที่4 พลังงานและบรรยากาศ (Energy and Atmosphere) 20 (2) 23 (2)
การประกันคุณภาพอาคาร: มีแผนการตรวจสอบและปรับแต่งระบบโดยบุคคลที่สาม บังคับ บังคับ
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ บังคับ บังคับ
การใช้พลังงานทดแทน
ผลิตพลังงานทดแทน ให้ได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ0.5-1.5 ของปริมาณค่าใช้จ่ายพลังงานในอาคาร
2 2
การตรวจสอบและพิสูจน์ผลเพื่อยืนยันการประหยัดพลังงาน: มีแผนการตรวจสอบและพิสูจน์ผลตามข้อกําหนด IPMVP 1 2
สารทําความเย็นในระบบปรับอากาศที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ: ไม่ใช้สาร CFC และ HCFC-22 1 1
MR หมวดที่5 วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้าง 13 11
การใช้อาคารเดิม: เก็บรักษาพื้นหรือหลังคาของอาคารเดิมไว้ร้อยละ50-75ของพื้นที่ผิว 2 2
การบริหารจัดการขยะจากการก่อสร้าง: นําขยะไปใช้หรือรีไซเคิล 50-75% ของปริมาตรหรือน้ำหนัก 2 2
การเลือกใช้วัสดุใช้แล้ว: นําวัสดุก่อสร้างกลับมาใช้ใหม่เป็นมูลค่าร้อยละ 5-10 2 1
การเลือกใช้วัสดุรีไซเคิล: ใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นมูลค่าร้อยละ 10-20 2 2
การใช้วัสดุที่ ผลิต ประกอบ หรือวัสดุพื้นถิ่นหรือในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 10-20
ของมูลค่าวัสดุก่อสร้างทั้งหมด
2 2
วัสดุที่หรือมีผลกระทบต่อส่งแวดล้อมตํ่า

  • ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามฉลากเขียวและฉลากคาร์บอนของไทยไม่น้อยกว่า ร้อยละ10-20 ของมูลค่าวัสดุก่อสร้างทั้งหมด
  • ใช้วัสดุมีการเผยแพร่ข้อมลความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกวาร้อยละ 30 ของมูลค่าาวัสดุก่อสร้างทั้งหมด
3 2
IE หมวดที่6 คุณภาพของสภาวะแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor Environmental Quality) 17 (2) 15 (2)
ปริมาณการระบายอากาศภายในอาคาร อัตราการระบายอากาศผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน บังคับ บังคับ
ความสองสว่างภายในอาคาร ความส่องสว่างขั้นต่ำผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน บังคับ บังคับ
การลดผลกระทบมลภาวะ

  • ช่องนําอากาศเข้าไม่อยู่ตำแหน่งที่มีความร้อนหรือมลพิษ
  • ความดันเป็นลบ (Negative pressure) สําหรับห้องพิมพ์งาน ถ่ายเอกสาร เก็บสารเคมี และเก็บสารทําความสะอาด
  • ควบคุมแหล่งมลพิษจากภายนอกเข้าสภายในอาคาร
  • พื้นที่สูบบุหรี่ห่างจากประตูหน้าต่างหรือช่องนําอากาศเข้าไม่น้อยกว่า 10 เมตร
  • ประสิทธิภาพการกรองอากาศผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน
5 5
การเลือกใช้วัสดุที่ไม่ก่อมลพิษ

  • การใช้วัสดุประสาน วัสดุยาแนวและรองพื้น ที่มีสารพิษตํ่าภายในอาคาร
  • การใช้สีและวัสดุ เคลือบผิวที่มีสารพิษตํ่าภายในอาคาร
  • การใช้พรมที่มีสารพิษตํ่าภายในอาคาร
  • การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบขึ้นจากไม้ที่มีสารพิษตํ่าภายในอาคาร
4 4
การควบคุมแสงสว่างภายในอาคาร 1 1
การใช้แสงธรรมชาติภายในอาคาร: ออกแบบให้ห้องที่มีการใช้งานประจําได้รับแสงธรรมชาติอย่างพอเพียง 4 3
สภาวะน่าสบาย: อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในส่วนที่มีการปรับอากาศเหมาะสมตามมาตรฐานระบบ
ปรับอากาศและระบายอากาศ
4 3
EP หมวดที่7 การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 5 (2) 5 (2)
การลดมลพิษจากการก่อสร้าง: มีแผนและดําเนินการป้องกนมลพิษและสิ่งรบกวนจากการก่อสร้าง บังคับ บังคับ
การบริหารจดการขยะ: การเตรียมพื้นที่แยกขยะ บังคับ บังคับ
ใช้สารเคมีที่สงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยในระบบดบเพลิง: ไม่ใช้สารฮาลอน (Halon) หรือซีเอฟซี (CFC) หรือเอสซีเอฟซี (HCFC) ในระบบดับเพลิง 1 1
ตําแหน่งเครื่องระบายความร้อน: การวางตําแหน่งเครื่องระบายความร้อนห่างจากที่ดินข้างเคียง 1 1
การใช้กระจกภายนอกอาคาร: กระจกมีคาสะท้อนแสงไม่เกินร้อยละ 15 1 1
การควบคมโรคที่กี่ยวข้องกบอาคาร: ปฏิบัติตามประกาศกรมอนามัยเรื่องข้อปฏิบัติการควบคมเชื้อลีจิโอเนลลา (Legionella) ในหอระบายความร้อนของอาคารในประเทศไทย 1 1
ติดตั้งมาตรวัดไฟฟ้าที่ใช้กับระบบบำบัดน้ำเสีย 1 1
GI หมวดที่8 นวัตกรรม 5 5
มีเทคนิควิธีที่ไม่ระบุไว้ในแบบประเมิน 5 5

จากเกณฑ์ด้านบน จะเห็นได้ว่าโครงการที่มีแผนจะยื่นขอการรับรองอาคารเขียว ส่งผลให้โครงการมีข้อจำกัดและข้อบังคับในการก่อสร้างเพิ่มขึ้นมา ตั้งแต่ การเลือกที่ดินโครงการ การออกแบบ วิธีการดำเนินการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุ เรื่อยไปจนถึงการบำรุงรักษาตลอดช่วงอายุอาคาร

ทุกฝ่ายในวงการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นผู้พัฒนาโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา รวมถึงผู้ขายวัสดุ ล้วนมีส่วนนำความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญของตัวเอง มาช่วยให้อาคารผ่านเกณฑ์บังคับหรือได้รับคะแนนจากประเมินอาคารประหยัดพลังงานได้ ตัวอย่างเช่น ระบบ Active Airflow จาก SCG ที่เป็นระบบระบายความร้อน จะทำให้ผ่านข้อบังคับในเรื่องการระบายอากาศภายในอาคาร และได้คะแนนจากสภาวะน่าสบาย เป็นต้น

ติดตามกันต่อครั้งหน้า กับการสร้างโครงการที่เป็น Green Construction ได้ที่

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X