ปรับพื้นลดน้ำขัง น้ำท่วม ด้วย แผ่นปูพื้น แผ่นปูทางเดิน – Green Construction

ปรับพื้นลดน้ำขัง น้ำท่วม ด้วย แผ่นปูพื้น แผ่นปูทางเดิน - Green Construction
การก่อสร้างตามแนวคิด Green Construction จะช่วยลดปัญหาน้ำท่วมได้หรือไม่?
.
น้ำท่วม น้ำรอระบายเป็นเหตุการณ์เดิมๆที่คนเมืองคุ้นเคย ตามธรรมชาติแล้ว เมื่อฝนตก น้ำส่วนหนึ่งไหลไปตามทางน้ำ กักเก็บไว้บ้างตามพืชพรรณแอ่งน้ำธรรมชาติ ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง อีกส่วนหนึ่งซึมลงพื้นดิน เมื่อพัฒนาพื้นที่เป็นอาคารและสถานที่ จำเป็นจะต้องเปลี่ยนพื้นดินเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ ส่วนที่อยู่นอกอาคารส่วนใหญ่ลาดยางหรือเทคอนกรีด ทำเป็นลานจอดรถ ลานอเนกประสงค์ต่างๆ ทางเดิน ฯลฯ  เพื่อกลับมาเป็นรายได้ของโครการ น้อยมากที่จะปล่อยพื้นที่นั้นเป็นสนามหญ้าหรือพื้นดินธรรมชาติ ดังนั้น แทนที่น้ำฝนไหลซึมผ่านพื้นดิน น้ำจำเป็นต้องไหลไปตามทางระบายน้ำเท่านั้น เมื่ออาคารบ้านเรือนหนาแน่นจนระบบน้ำรองรับไม่ทัน จึงเกิดเหตุการณ์ น้ำรอระบาย ขึ้นมา
.
.
เมื่อหลีกเลี่ยงได้ยากในการเหลือพื้นดินแหล่งน้ำธรรมชาติให้รองรับน้ำ จำเป็นต้องพัฒนาพื้นที่ใช้ประโยชน์ จึงเกิดแนวทางการออกแบบและใช้เทคโนโลยีวัสดุก่อสร้าง เพื่อการซึมน้ำและลดปัญหาน้ำท่วม โดยที่ เกณฑ์มาตรฐานการก่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงานต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับ หัวข้อนี้ เข่น เกณฑ์ TREES ระบบประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย พัฒนาโดย สถาบันอาคารเขียวไทย ให้คะแนนกับโครงการที่ลดปัญหาน้ำท่วมได้ถึง 4 คะแนน (จากคะแนนนทั้งหมด 85)
.

เพิ่มพื้นที่ผิวซึมน้ำ โดยการเลือกวัสดุปูพื้นที่น้ำซึมผ่านได้

แนวทางการ ลดปัญหาน้ำท่วม จาก TREES (ข้อ SL 4) มีอยู่ว่า แทนที่จะปูพื้นด้วยการเทคอนกรีต ที่น้ำซึมผ่านลงพื้นดินไม่ได้ ให้เลือกวัสดุปูพื้นที่น้ำซึมผ่านได้ เช่น บล๊อกหญ้า แผ่นปูพื้นที่มีเว้นร่องระหว่างแผ่น หรือ บล๊อกปูพื้น ที่มีช่องหรือรูให้น้ำซึมผ่านลงดินได้ วัสดุปูพื้นประเภทนี้ สามารถลดปริมาณน้ำที่ไหลออกสู่พื้นที่สาธารณะได้บ้าง
.

.

แผ่นปูพื้น แผ่นทางเดิน บล๊อกปูพื้น มีแบบไหนบ้าง

แผ่นทางเดินที่นิยมกันในท้องตลาดนั้นแบ่งเป็น 2 หมวดใหญ่ๆ ด้วยกัน คือแผ่นทางเดินจากธรรมชาติและแผ่นทางเดินซีเมนต์
  • แผ่นทางเดินจากธรรมชาติ ได้แก่ แผ่นศิลาแลง หินภูเขาเมืองกาญจน์ หินทราย ไม้หมอน ซึ่งแผ่นทางเดินจากธรรมชาติเหล่านี้มักจะอยู่ในงานดีไซน์สวนแบบทรอปิคัล สวนป่าดิบชื้น ด้วยคุณสมบัติที่สามารถกักเก็บความชื้นได้นาน ทำให้พื้นที่สวนมีความชุ่มชื่นร่มเย็นด้วย แต่ข้อด้อยของแผ่นหินธรรมชาติก็คือรูปทรงและลวดลายที่แต่ละแผ่นจะแตกต่างกันไป รวมทั้งผิวสัมผัสที่กร่อนจนคมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และอายุการใช้งานของแผ่นหินบางชนิดที่จะสึกกร่อนตามธรรมชาติ
  • แผ่นทางเดินสำเร็จรูป ได้แก่ แผ่นทางเดินซีเมนต์ และแผ่นหินสังเคราะห์ ซึ่งวัสดุเหล่านี้ผ่านกระบวนการขึ้นรูปด้วยระบบอุตสาหกรรม สัดส่วนจึงเป็นขนาดมาตรฐานหลากหลายขนาด ตั้งแต่ 20 x 20 และ 40×40 เซนติเมตรขึ้นไป ขนาดที่พอดีนี้ทำให้สามารถคำนวณจำนวนที่ต้องใช้ได้อย่างแม่นยำ ง่ายต่อการจัดวาง รวมทั้งความคงทนแข็งแรง

.

ปัจจุบันแผ่นทางเดินสำเร็จรูปเป็นที่นิยมนำมาใช้ ด้วยการผลิตที่รวดเร็วและมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป รวมทั้งสามารถสร้างเป็นลวดลายต่างๆ หรือรับน้ำหนักสูงในงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ แผ่นปูพื้นบางชนิด ใช้การผลิตด้วยเทคโนโลยีเฉพาะ เพื่อให้ตรงตามเกณฑ์ของอาคารเขียว ทำให้ซึมน้ำได้ดี ลดปัญหาน้ำขัง
บล๊อกพรุน (POROUS BLOCK)
บล๊อกพรุน (POROUS BLOCK) พอรัสบล๊อก เป็นเทคโนโลยีการปูพื้น ที่ผลิตให้มีช่องว่างในเนื้อคอนเกรีดมากกว่า โดยที่ช่องว่างในเนื้อคอนกรีตมีความต่อเนื่องกัน ทำให้น้ำไหลลงไปด้านล่างได้เร็วกว่าบล๊อกทั่วไป มีอัตราการไหลผ่านของน้ำมากกว่า 15ลิตร/นาที/ตารางเมตร ลดปัญหาน้ำท่วมขัง

.

บล๊อกหญ้า (TURF STONE) มีร่องให้น้ำไหลซึมผ่านพื้นดินได้ รวมถึงใช้ปลูกหญ้าได้ บล๊อกสนามหญ้านี้ผ่านเกณฑ์การใช้วัสดุปูพื้นของ เกณฑ์อาคารเขียว และยังสามารถใช้เป็นพื้นที่จอดรถ หรือแม้กระทั่งเป็นทางสัญจรของรถยนต์โดยไม่ทำให้หญ้าตาย เพราะตัวบล็อกนั้นปกป้องระบบรากของหญ้าอยู่ แต่มีข้อควรระวังที่ว่า ขณะติดตั้ง ต้องอัดดินให้ดีและดูแลรักษาให้เหมาะสมด้วย

.

คลิกขอราคาออนไลน์

.

คะแนน จากเกณฑ์การประเมิน อาคารอนุรักษ์พลังงาน

เกณฑ์ TREES ระบบประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย พัฒนาโดย สถาบันอาคารเขียวไทย ให้คะแนนกับโครงการที่ลดปัญหาน้ำท่วมได้ถึง 4 คะแนน (จากคะแนนทั้งหมด 85 คะแนน) มีวัตถุประสงค์ให้โครงการก่อสร้างนั้นๆสามาร ลดปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากการพัฒนาโครงการ โดยการลดพื้นที่ผิวทึบนํ้า (Impervious Surface) ของพื้นที่ผิวโครงการ
เพิ่มพื้นที่ผิวซึมน้ำ หรือสร้างบ่อหน่วงน้ำเพื่อชะลอนําก่อนปลอยออกสู่พื้นที่นอกโครงการ  มีเกณฑ์คะแนนคือ
.
.
ครั้งหน้ามาดูกันใหม่ ว่าจะได้คะแนนจากเกณฑ์อาคารเขียวได้อย่างไร หรือนำแนวทางไปปรับใช้เพื่อสร้างอาคารประหยัดพลังงานได้ ที่นี่
Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X