สัดส่วนต้นทุน งานก่อสร้าง (Cost Structure) ปี 2018 – สำรวจโดยบิลค์

BUILK สัดส่วนต้นทุน 2018

โครงการก่อสร้างนี้ สัดส่วนต้นทุน งานก่อสร้าง (Cost Structure) เป็นอย่างไร? ค่าวัสดุคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ค่าแรงคิดเป็นกี่เปอร์เซนต์ เป็นคำถามที่ถูกถามกันบ่อยๆ ในงานการศึกษาความเป็นไปได้โครงการ (Feasibility Study) หรือใช้ทำการประมาณราคาอย่างหยาบ (Rough Estimate) ฟังดูแล้วเป็นคำถามง่ายๆ แต่ตอบได้อย่างแม่นยำยาก เพราะแม้แต่บุคลากรที่ทำงานในกิจการก่อสร้างยังไม่สามารถตอบได้ หากไม่ได้เก็บข้อมูลและ วิเคราะห์ต้นทุนโครงการจริงๆ

 

ผู้รับเหมา SMEs ที่ทำงานอย่างมีระบบ จะมีข้อมูลเหล่านี้

คำถามที่เคยหาคำตอบยากได้กลับถูกตอบได้อย่างง่ายดายในไม่กี่วินาที ในโปรแกรม BUILK Cost Control ที่มีระบบการบันทึกต้นทุนก่อสร้างทุกบาททุกสตางค์อย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ถึงต้นทุนทั้งก่อนจ่าย กำลังจ่าย และหลังจ่ายเงินไปแล้วได้อย่าง Real-time เพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำมากขึ้น

เรียนรู้เกี่ยวกับ บิลค์ โปรแกรมควบคุมต้นทุนสำหรับผู้รับเหมา ฟรี ! : https://pojjaman.com/testbuilk01/cost-control/  

#CostControl #miniERP #โปรแกรมบริหารต้นทุนโครงการ #ควบคุมต้นทุนก่อสร้าง

สัดส่วนต้นทุน งานก่อสร้าง ทุกโครงการในระบบ ใช้วิธีการแบ่งประเภทต้นทุน ด้วยแนวทาง CBS (Cost Breakdown Structure) ซึ่งแบ่งตามประเภทต้นทุน (ไม่ใช่ประเภทงาน) สามารถใช้เปรียบเทียบต้นทุนระหว่างโครงการได้ เป็นต้นทุนออกเป็น 5 ประเภทกลุ่มต้นทุนใหญ่ ดังนี้

  1. วัสดุก่อสร้าง (Material Cost)
  2. แรงงาน (Labor Cost)
  3. เครื่องจักร (Equipment Cost)
  4. ผู้รับเหมาช่วง (Sub-Contractor Cost)
  5. ค่าดำเนินการ-ค่าโสหุ้ย (Overhead Cost)

 

เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2562 นี้ BUILK ได้รวบรวมและสำรวจต้นทุนที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้างทั่วประเทศ กว่า 5,000 โครงการ และคำนวณหาค่าเฉลี่ยของ สัดส่วนต้นทุน งานก่อสร้าง จากฐานข้อมูลผู้ใช้งานระบบ BUILK Cost Control จึงนำมาแบ่งปันให้แก่อุตสาหกรรมก่อสร้าง ให้พี่ๆ เพื่อนๆ ผู้รับเหมาได้ให้เป็นมาตรวัดเปรียบเทียบกับกิจการของตนเอง เพราะ BUILK หวังว่าเราจะร่วมกันก้าวไปด้วยกันทั้งวงการก่อสร้าง

 

ค่าเฉลี่ย สัดส่วนต้นทุนโครงการ (Cost Structure) ในแต่ละประเภทงานก่อสร้าง

ค่าเฉลี่ย สัดส่วนต้นทุนโครงการ แต่ละประเภท

 

ในปี 2018 ที่ผ่านมา โครงการก่อสร้างประเภท บ้าน/ทาวน์เฮ้าส์/ที่พักอาศัยแนวราบ มี สัดส่วนต้นทุน หมวดต่างๆ ดังนี้

  1. ค่าวัสดุ  52.76%
  2. ค่าแรงงานทางตรง  16.52%
  3. ค่าเครื่องจักร  1.18%
  4. ค่าจ้างเหมาช่วง  19.32%
  5. ค่าดำเนินการ  10.21%

ในโครงการก่อสร้างประเภทอื่นๆ ก็จะมีสัดส่วนที่แตกต่างกันไปบ้าง ขึ้นกับลักษณะและขนาดโครงการ

เมื่อวิเคราะห์โดยภายรวม จากรูปด้านบน จะเห็นได้ว่ากลุ่มต้นทุนที่มีอัตราส่วนสูงที่สุดในงานก่อสร้างทุกประเภทนั้นคือ ต้นทุนค่าวัสดุ ที่มีเปอร์เซ็นต์มากกว่า 50% ในทุกต้นทุน และจะยิ่งมีสัดส่วนที่มากขึ้นหากเป็นงานก่อสร้างที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เช่น งานก่อสร้างหนัก อย่างถนน/สะพาน/สาธารณูปโภค ที่มีเปอร์เซ็นต์ต้นทุนกว่า 63%

ในส่วนของค่าแรงงานนั้น ทั้งค่าแรงงานของกิจการและค่าแรงงานเหมาช่วงนั้น เมื่อรวมกันจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์อยู่ที่ประมาณ 35% ยกเว้นงานโรงงาน/โกดัง และงานก่อสร้างหนักที่จะมีเปอร์เซ็นต์ต้นทุนโครงการที่ประมาณ 20-25% นั่นเป็นเพราะโครงการประเภทนี้เมื่อนำค่าแรงเทียบกับต้นทุนค่าวัสดุที่ค่อนข้างสูงจะทำให้ดูมีสัดส่วนที่น้อยลงไป

ต้นทุนการใช้เครื่องจักร ในโครงการขนาดใหญ่ จะมีมากขึ้นโดยเฉพาะงาน ถนน/สะพาน/สาธารณูปโภค คิดเป็นประมาณ 4% ของต้นทุนโครงการ นั่นอาจจะทำให้ผู้รับเหมาที่มีเครื่องจักรหนักเป็นของตนเอง มีความได้เปรียบในการรับงานกลุ่มนี้

ส่วนสุดท้าย “ต้นทุนทางอ้อม” ประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่าสำหนักงาน ค่าใช้จ่ายบุคลากรในสำนักงาน ค่าเดินทาง ค่าซื้อแบบ ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ยและต้นทุนทางการเงินต่างๆ คิดเป็น 7-13% ของต้นทุนโครงการ ต้นทุนทางอ้อมเหล่านี้ สามารถบริหารให้ต่ำลง และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก็เป็นอีกส่วนที่สามารถเพิ่มผลกำไรให้กิจการได้ทันที

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากสัดส่วนต้นทุนโครงการ

จากประเด็นในหัวข้อที่แล้วสามารถสรุปได้ 3 ส่วนดังนี้

1. “ต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้าง” ต้นทุนประเภทที่มีสัดส่วนที่มากที่สุด ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าเป็นส่วนที่ควรควบคุมให้มากที่สุด เพราะหากลดค่าวัสดุก่อสร้างนี้ไปได้ 5% จากปกติ นั่นเท่ากันเราสามารถลดต้นทุนโครงการไปได้แล้วอย่างน้อย 2.5%

ทั้งนี้ BUILK ขอฝาก YELLO ผู้ช่วยฝ่ายจัดซื้อ ที่จะช่วยพี่ๆหาราคาวัสดุก่อสร้างที่ต้องการในราคาที่ดีกว่า เนื่องจากธุรกิจรับเหมาจากทั่วประเทศ รวมตัวกันสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างผ่าน YELLO เป็นล๊อตใหญ่ เราจึงสามารถต่อรองราคากับโรงงานผู้ผลิต ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ (รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก)

2. “ค่าแรงงาน” ทั้งค่าแรงงานและค่าเหมาช่วง ทั้ง 2 ประเภทต้นทุนนี้คิดเป็นมากกว่า 1 ใน 4 ของต้นทุนโครงการซึ่งการลดต้นทุนในส่วนนี้มักจะมาควบคู่กับการควบคุมเวลาในการก่อสร้าง ทั้งการวางแผนขั้นตอนการทำงานที่ทำให้ใช้เวลาน้อยที่สุดและการควบคุมเวลาที่ใช้ในส่วนต่างๆอีกด้วย

3. “ต้นทุนทางอ้อม” ต้นทุนที่คนมักจะมองข้าม แต่ในส่วน 10% นี้สามารถกำหนดได้เลยว่าในโครงการนั้นๆจะได้กำไรหรือขาดทุน เพราะเมื่อตอนประมูลงาน หรือทำ BOQ เสนอเจ้าของงาน เรามักจะเขียนรวมกันไว้ว่า “ค่าต้นทุนทางอ้อมและกำไร 15%” คำถามคือ 15% นี้เป็นกำไรเท่าไหร่และต้นทุนเท่าไหร่กันแน่? หรือในบางครั้งอาจจะมากกว่า 15% ด้วยซ้ำ ฉะนั้นหากเราไม่เคยได้รับรู้เลยว่าในความเป็นจริงแล้วเราเสียเงินโครงการไปกับต้นทุนประเภทนี้เท่าไหร่ถือเป็นเรื่องที่อันตรายเป็นอย่างมาก

ดังนั้นแล้วการคำนวนที่ละเอียดและการวางแผนงาน (Estimating & Planning) และการใช้เครื่องมือเพื่อควบคุมต้นทุนโครงการก่อสร้าง ธุรกิจ ดำเนินไปทุกวัน เราควรจะติดตามและวัดผลอย่างใกล้ชิด สำหรับธุรกิจก่อสร้าง SMEs ที่ต้องการระบบริหารที่ดี การควบคุมต้นทุนที่สามารถคาดการได้ เลือกใช้ BUILK ระบบริหารธุรกิจก่อสร้าง ฟรี รายแรกและรายเดียวในเอเชีย

 

สมัครใช้งานง่ายๆ ที่นี่

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม BUILK CostControl ได้เลยที่ Line : @BUILK (มีตัว @ ด้วยนะครับ)

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

5 ขั้นตอนง่ายๆ สร้างแผนต้นทุนโครงการใน BUILK

จัดการกระแสเงินสด ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ด้วย BUILK CostControl

ธุรกิจก่อสร้าง ดูรายงานอะไร ตอนสิ้นเดือน

 

สัดส่วนต้นทุนโครงการอย่างละเอียด

ต้นทุนโครงการ บ้าน/ทาวน์เฮ้าส์/ที่พักอาศัยแนวราบ

ต้นทุนโครงการ หอพัก/คอนโดมิเนียม/ที่พักอาศัยแนวสูง — Coming soon…

ต้นทุนโครงการ อาคารสำนักงาน/ศูนย์การค้า/อาคารสาธารณะ — Coming soon…

ต้นทุนโครงการ ถนน/สะพาน/สาธารณูปโภค — Coming soon…

ต้นทุนโครงการ โรงพยาบาล — Coming soon…

 

Insert math as
Block
Inline
Additional settings
Formula color
Text color
#333333
Type math using LaTeX
Preview
\({}\)
Nothing to preview
Insert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save
X